ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล็อกวิชาหลักการและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา ของนางสาวทิพวัลย์ พยัควัลย์ โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงค่ะ

โครงการสอน

รหัสวิชา TN 6101 ชื่อวิชา หลักการและทฤษฎีเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา 3(2-2-5)
( Principle and Theories of educational technology and innovation )
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
อาจารย์ผู้สอน นายมงคล ภวังคนันท์
โปรแกรมวิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์

จุดประสงค์
1.ให้ผู้เรียนได้ทราบถึงสภาพและปัญหาทางการศึกษาของไทย
2.ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมายความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
ที่มีต่อการเรียนการสอนได้
3.ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้
4.ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายความสัมพันธ์ลักษณะองค์ประกอบและหลักการของเทคโนโลยี
และนวัตกรรมการศึกษาได้
5.ให้ผู้เรียนได้ทราบถึงกระบวนการพัฒนาการของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
6.ให้ผู้เรียนได้ทราบถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญและควรรู้จัก

คำอธิบายรายวิชา
.....ศึกษาสภาพปัญหาทางการศึกษาของประเทศไทย หลักการทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ความหมาย ความสัมพันธ์ ลักษณะ องค์ประกอบ หลักการ กระบวนการและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา

การวัดและการประเมินผล
1.การวัดผล คะแนนเต็ม 100 คะแนน
...1.1คะแนนระหว่างภาคเรียน 70 คะแนน
-การอภิปราย/พฤติกรรมการแสดงออก 10 คะแนน
การเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
-รายงานบุคคล 20 คะแนน
-รายงานกลุ่ม 20 คะแนน
-ผลงานเทคโนโลยีนวัตกรรม 20 คะแนน

...1.2คะแนนปลายภาค 30 คะแนน
-สอบปลายภาค 30 คะแนน
เกณฑ์การประเมินผล

.....การประเมินผลการเรียน ค่าระดับคะแนนแบ่งเป็น 8 ระดับ
A ดีเยี่ยม 4.0 ระดับคะแนน 80-100
B+ ดีมาก 3.5 ระดับคะแนน 75-79
B ดี 3.0 ระดับคะแนน 70-74
C+ ดีพอใช้ 2.5 ระดับคะแนน 65-69
C พอใช้ 2.0 ระดับคะแนน 60-64
D+ อ่อน 1.5 ระดับคะแนน 55-59
D อ่อนมาก 1.0 ระดับคะแนน 50-54
E ตก 0.0 ระดับคะแนน 0-49



วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

วิธีการสอน

รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เทคนิค/วิธีการสอน
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
บทบาทผู้เรียน
1) กระบวนการสืบค้น
(Inquiry Process)
- การศึกษาค้นคว้า
- การเรียนรู้กระบวนการ
- การตัดสินใจ
- ความคิดสร้างสรรค์
ศึกษาค้นคว้า เพื่อสืบค้นข้อความรู้ด้วยตนเอง
2) การเรียนแบบค้นพบ (Discovery Learning)
- การสังเกต การสืบค้น
- การให้เหตุผล การอ้างอิง
- การสร้างสมมติฐาน
ศึกษา ค้นพบข้อความรู้และขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3) การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving)
- การศึกษาค้นคว้า
- การวิเคราะห์ สังเคราะห์ประเมินค้าข้อมูล
- การลงข้อสรุป
- การแก้ปัญหา
ศึกษา แก้ปัญหาอย่างเป็นกระบวนการและฝึกทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยตนเอง
4) การเรียนแบบสร้างแผนผังความคิด (Concept Mapping)
- การคิด
- การจัดระบบความคิด
จัดระบบความคิดของตนให้ชัดเจน เห็นความสัมพันธ์
5) การตั้งคำถาม (Questioning)
- กระบวนการคิด
- การตีความ
- การไตร่ตรอง
- การถ่ายทอดความคิด ความเข้าใจ
เรียนรู้จากคิดเพื่อสร้างข้อคำถามและคำตอบด้วยตนเอง
6) การศึกษาเป็นรายบุคคล (Individual Study)
- การศึกษาค้นคว้าข้อความรู้
- การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
- ความรับผิดชอบ
เรียนรู้อย่างเป็นอิสระด้วยตนเอง
7) การจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี (Technology - Related Instruction)
ประกอบด้วย
- ศูนย์การเรียน
- ชุดการสอน
- บทเรียนสำเร็จรูป
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- e-learning
- การตอบคำถาม
- การแก้ปัญหา
- การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
- การเรียนรู้ที่ต้องการผลการเรียนรู้ทันที
- การเรียนรู้ตามลำดับขั้น
เรียนรู้ด้วยตนเองตามระดับความรู้ความสามารถของตน มีการแก้ไขฝึกซ้ำเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญ
8) การอภิปรายกลุ่มใหญ่ (Whole - Class Discussion)
- การแสดงความคิดเห็น
- การวิเคราะห์
- การตีความ
- การสื่อความหมาย
- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- การสรุปความ
มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น มีบทบาทมีส่วนร่วมในการสร้างข้อความรู้
9) การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small - Group Discussion)
- กระบวนการกลุ่ม
- การวางแผน
- การแก้ปัญหา
- การตัดสินใจ
- ความคิดระดับสูง
- ความคิดสร้างสรรค์
- การแก้ไขข้อขัดแย้ง
- การสื่อสาร
- การประเมินผลงาน
- การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
รับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองในฐานะผู้นำกลุ่มหรือสมาชิกกลุ่มทั้งในบทบาทการทำงานและบทบาทเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม ในการสร้างข้อความรู้หรือผลงานกลุ่ม
- 9.1 เทคนิคคู่คิด (Think-Pair-Share)
- การค้นคว้าหาคำตอบ
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
รับผิดชอบการเรียนร่วมกับเพื่อน
- 9.2 เทคนิคการระดมพลังสมอง (Brainstorming)
- การมีส่วนร่วม
- การแสดงความคิดเห็น
- ความคิดสร้างสรรค์
- การแก้ปัญหา
แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายในเวลาอันรวดเร็ว
- 9.3 เทคนิค Buzzing
- การค้นคว้าหาคำตอบด้วยเวลาจำกัด
แสดงความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด

- 9.4 การอภิปรายกลุ่มแบบต่าง ๆ (Panel, Forum, Symposium, Seminar
- การสื่อสาร
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- การสรุปข้อความรู้
รับฟังข้อมูลความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด
- 9.5 กลุ่มติว
- การฝึกซ้ำ
- การสื่อสาร
ทบทวนจากกลุ่มหรือเพื่อหรือเรียนเพิ่มเติม
10) การฝึกปฏิบัติการ
- การค้นคว้าหาความรู้
- การรวบรวมข้อมูล
- การแก้ปัญหา
ศึกษาค้นคว้าข้อความรู้ในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการ
11) เกม (Games)
- การคิดวิเคราะห์
- การตัดสินใจ
- การแก้ปัญหา
ได้เล่มเกมด้วยตนเองภายใต้กฎหรือกติกาที่กำหนด ได้คิดวิเคราะห์พฤติกรรมและเกิดความสนุกสนานในการเรียน
12) กรณีศึกษา (Case Studies)
- การค้นคว้าหาความรู้
- การอภิปราย
- การวิเคราะห์
- การแก้ปัญหา
ได้ฝึกคิดวิเคราะห์อภิปรายเพื่อสร้างความเข้าใจแล้วตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ปัญหา
13) สถานการณ์จำลอง (Simulation)
- การแสดงความคิดเห็น
- ความรู้สึก
- การวิเคราะห์
ได้ทดลองแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ในสถานการณ์ที่จำลองใกล้เคียงสถานการณ์จริง
14) ละคร (Dramatization)
- ความรับผิดชอบในบทบาท
- การทำงานร่วมกัน
- การวิเคราะห์
ได้ทดลองแสดงบทบาทตามที่กำหนดเกิดประสบการณ์เข้าใจความรู้สึก เหตุผล และพฤติกรรมผู้อื่น
15) บทบาทสมมติ
- มนุษยสัมพันธ์
- การแก้ปัญหา
- การวิเคราะห์
ได้ลองสวมบทบาทต่าง ๆ และศึกษาวิเคราะห์ความรู้สึกและพฤติกรรมตน


16) การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ประกอบด้วยเทคนิค JIGSAW, JIGSAW II, TGT, STAD,LT,GI, NHT, Co-op Co-op
- กระบวนการกลุ่ม
- การสื่อสาร
- ความรับผิดชอบร่วมกัน
- ทักษะทางสังคม
- การแก้ปัญหา
- การคิดแบบหลากหลาย
- การสร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกัน
ได้เรียนรู้บทบาทสมาชิก กลุ่มมีบทบาทหน้าที่ รู้จักการไว้วางใจให้เกียรติและรับผังความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิกกลุ่ม และรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนและเพื่อน ๆ ในกลุ่ม
17) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
(Participatory Learning)
- การนำเสนอความคิดประสบการณ์
- การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์
- กระบวนการกลุ่ม
มีส่วนร่วมในการอภิปรายแสดงความคิดเห็นหรือปฏิบัติจนได้ข้อสรุป
18) การเรียนการสอนแบบ บูรณาการ แบบ Shoreline Method
- การค้นคว้าหาความรู้
- การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
- ทักษะทางสังคม
- กระบวนการกลุ่ม
- การสื่อสาร
- การแก้ปัญหา
มีส่วนร่วมในการเรียนทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและการคิด ดำเนินการเรียนด้วยตนเองทั้งในห้องเรียนและสถานการณ์จริง ศึกษา ปฏิบัติด้วยตนเองทุกเรื่อง ร่วมแรงร่วมใจด้วยความเต็มใจ

images.puvadon.multiply.com/attachment/

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่5

จงตอบคำถามลงในช่องว่างของแต่ละข้อให้ได้ความสมบูรณ์และถูกต้อง

1.การรับรู้ หมายถึงอะไร
ตอบ...กระบวนการแปลหรือตีความต่อสิ่งเร้าข่าวสารที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสเข้าไปยังสมองในรูปของไฟฟ้าและเคมี

2.อวัยวะรับสัมผัสมี 5 ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น และ กาย

3.องค์ประกอบของกระบวนการรับรู้มี 3 ประการ ได้แก่
...- อาการรับสัมผัส
...- อาการแปลความหมายของอาการสัมผัส
...-ประสบการณ์เดิม

4.ธรรมชาติของการรับรู้มีอะไรบ้าง
...- การเลือกที่จะรับรู้
...- การจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้าอย่างมีแบบแผน
...- ความต่อเนื่อง
...- ความสมบูรณ์

5.สิ่งต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ ได้แก่
...- สิ่งเร้าภายนอก
...- สิ่งเร้าภายใน
...- คุณลักษณะของสิ่งเร้า

6.การเรียนรู้ หมายถึงอะไร
...- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ก่อนข้างถาวร และพฤติกรรมนี้เป็นผลจากประสบการณ์หรือการฝึกฝนมิใช่การตอบสนองจากธรรมชาติ วุฒิภาวะ หรือความบังเอิญ เป็นต้น

7.จงเขียนแผนภูมิการแบ่งกลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ให้ถูกต้อง
.....ทฤษฎีการเรียนรู้
1.กลุ่มทฤษฎีสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
1.1ทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง
1.2ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข
1.2.1)การเรียนรู้แบบคลาสิค
1.2.2)การเรียนรุ้แบบจงใจกระทำ
2.กลุ่มทฤษฎีความรู้ความเข้าใจ
2.1Gestalt T..
2.2Field T.

8.บลูม จำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ออกเป็น 3 หมวด ได้แก่
...- พุทธพิสัย
...- จิตพิสัย
...- ทักษะพิสัย

9.สภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้มี 4 ประการ คือ
...- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
...- ป้อนข้อมูลย้อนกลับทันที
...- จัดประสบการณ์ที่เป็นผลสำเร็จ
...- การประมาณการที่ละน้อย

10.จงเขียนแผนภูมิกระบวนการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ให้ถูกต้อง
...การรับรู้ตามแนวพุทธศาสตร์-->1.อวัยวะรับสัมผัส}
............................................................การรับสัมผัส การรับรู้ ความรู้สึก ความจำ ความคิด
.......................................2.สิ่งเร้าภายนอก}

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่4

จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง

1.คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือร่วมกัน

2.การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการสั่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกต่างๆ ตลอดจนประสบการณ์จากฝ่ายหนึ่ง(ผู้ส่งสาร)สู่อีกฝ่ายหนึ่ง(ผู้รับสาร)

3.Sender --> Message --> Channel --> Reciever

4.สาร หมายถึง เนื้อหาสาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่งหรือแหล่งกำเนิด

5.Elemnts หมายถึง องค์ประกอบย่อยๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี
...ตัวอย่างเช่น สระ พยัญชนะ หรือสีแดงสีเหลือง เส้น เป็นต้น

6.Structure หมายถึง โครงสร้างที่นำองค์ประกอบย่อยมารวมกัน
...ตัวอย่างเช่น คำ ประโยค หรือ สีของรูปร่าง รูปทรง

7.Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด ความต้องการของผู้ส่ง
...ตัวอย่างเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับอะไร สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร

8.Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ที่ถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
...ตัวอย่างเช่น ใช้ Style ในการสื่อความหมาย

9.Code หมายถึงกลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ
...ตัวอย่างเช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กริยาท่าทาง

10.อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน แสงแดด

11.อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล อาการเจ็บป่วย

12.Encode หมายถึง การแปลความต้องการของคนเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่างๆได้

13.Decode หมายถึง การเลือกสื่อและช่องทางที่ไม่เหมาะสม

14.จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
..... กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบดัง นี้
ครู --> เนื้อหา หลักสูตร --> สื่อหรือช่องทาง --> นักเรียน

15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
...1.ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ให้กับผู้เรียน
...2.ผู้สอนไม่คำนึงถึงความสามารถของผู้เรียน
...3.ผู้สอนไม่สร้างความพร้อมให้กับผู้เรียน
...4.ผู้สอนใช้คำยากทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจ
...5.ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาวกวน
...6.ผู้สอนใช้สื่อไม่เหมาะสม

คำถามท้ายบทเรื่องสื่อการสอน

1.จงบอกความหมายของสื่อการสอนให้ถูกต้อง
ตอบ...สื่อการสอนหมายถึงวัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใดๆก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหนะในการถ่ายทอดความรู้
ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน

2.จงอธิบายความสำคัญของสื่อการสอนให้ชัดเจน
ตอบ...เป็นองค์ประกอบยิ่งอย่างหนึ่งของการศึกษาหรือการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น

3.จงบอกถึงคุณสมบัติของสื่อการสอนมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ...1)สามารถจัดยึดประสบการณ์ กิจกรรม และการกระทำต่างๆได้
........2)สามารถจัดแจง ปรับปรุง ประสบการณ์ต่างๆได้
........3)สามารถแจกจ่ายและขยายข่าวสารออกเป็นหลายๆฉบับเพื่อเผยแพร่สู่คนจำนวนมาก

4.จงบอกถึงคุณค่าของสื่อการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ...1)เป็นศูนย์รวมความสนใจของผู้เรียน
……..2)ทำให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจ
........3)ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวาง
........4)แสดงสิ่งที่ลี้ลับให้เข้าใจง่าย
........5)ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน

5.จงยกตัวอย่างคุณค่าของสื่อการสอนในด้านวิชาการ ด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ และด้านเศรษฐกิจศึกษา อย่างน้อยด้านละ 1 ตัวอย่าง
ตอบ...1)ด้านวิชาการàทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง
........2)ด้านจิตวิทยาการเรียนรู้àทำให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
........3)ด้านเศรษฐกิจการศึกษาàช่วยให้ผู้ที่เรียนได้ช้าเรียนด้ายเร็วและมากขึ้น

6.จงจำแนกประเภทของสื่อให้ถูกต้องและชัดเจน
ตอบ...จำแนกประเภทของสื่อได้ดังนี้
...........1)จำแนกตามคุณสมบัติ
...........2)จำแนกตามแบบ
...........3)จำแนกตามประสบการณ์

7.จงบอกหลักการใช้สื่อการสอนให้ถูกต้องชัดเจน
ตอบ...ควรดำเนินตามขั้นตอนดังนี้
...........1)ขั้นการเลือก (Selection)
...........2)ขั้นเตรียม (Preparation)
...........3)ขั้นการใช้หรือการแสดง (Presentation)
...........4)ขั้นติดตามผล (Follow up)

8.จงอธิบายข้อดีและข้อจำกัดของสื่อการสอนให้ถูกต้องอย่างน้อย 2 ชนิด
ตอบ...1)หนังสือ สมุดคู่มือ เอกสารอื่นๆ
-ข้อดีคือ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับบางคนได้แก่การอ่าน
-ข้อจำกัดคือต้นทุนการผลิตสูง
........2)ตัวอย่างของจริง
-ข้อดีคือแสดงภาพตามความเป็นจริง
-ข้อจำกัดคือจัดหาลำบาก

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ปัญหาและอุปสรรคทางการศึกษา

การพัฒนาการศึกษา มีปัญหาและอุปสรรคสำคัญ 5 ประการ คือ

1.ปัญหาบุคคล ได้แก่
-ขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ
-บุคลากรทางการศึกษายังไม่เข้าใจเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
-คนพิการขาดสิทธิที่จะได้รับทางการศึกษา
-ผู้เรียนที่เรียนอ่อนจะขาดการดูแลเอาใจใส่ของอาจารย์
-บุคลากรมีจำนวนจำกัด

2.ปัญหาเครื่องมือ ได้แก่
-เครื่องมือมีไม่เพียงพอกับนักศึกษา
-ขาดเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย
-ขาดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเครื่องมือที่มีอยู่

3.ปัญหางบประมาณ ได้แก่
-ขาดการช่วยเหลือจากทางภาครัฐและเอกชน
-นำงบประมาณที่ได้มาใช้โดยไม่เกิดประโยชน์
-ขาดผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ

4.ปัญหาวิธีการ ได้แก่
-ขาดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
-มีการบริหารงานอย่างไม่เป็นระบบ
-ต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อจัดโครงการสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับผู้เรียน

5.ปัญหาด้านศีลธรรม ได้แก่
-ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้มาใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม
-ผู้สอนส่วนใหญ่สอนแต่วิชาการไม่เน้นทางด้านศีลธรรม
-ผู้เรียนไม่เห็นความสำคัญของศีลธรรม

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่1

1.จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาอย่างถูกต้อง
ตอบ เทคโนโลยีคือการนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ๆ มาใช้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพแต่นวัตกรรมคือความคิดและการกระทำใหม่ๆมาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

2.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่างๆมาอย่างน้อย 5 สาขา
ตอบ 1.เทคโนโลยีทางการทหาร
2.เทคโนโลยีทางการแพทย์
3.เทคโนโลยีทางการเกษตร
4.เทคโนโลยีทางการสื่อสาร
5.เทคโนโลยีทางการศึกษา

3.จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพและทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
ตอบ ทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพคือจะมุ่งเน้นไปที่วัสดุอุปกรณ์แต่ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์คือการมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมของมนุษย์

4.จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่างๆอย่างน้อย 3 ระดับ
ตอบ 1.บุคคลธรรมดาสามัญ
2.บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา
3.บุคคลที่เป็นนักศึกษา

5.เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ
ตอบ มี 3 ระดับคือ
1.ระดับอุปกรณ์การสอนคือใช้เทคโนโลยีการสอนในระดับเครื่องช่วยการสอนของครู
2.ระดับวิธีสอนคือใช้เทคโนโลยีแทนการสอนด้วยตัวครูเอง
3.ระดับการจัดระบบการศึกษาคือใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้างสามารถตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก

6.จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
ตอบ ข้อแตกต่างคือเทคโนโลยีคือนำของเก่ามาพัฒนาส่วนนวัตกรรมคือการคิดขึ้นใหม่และความสัมพันธ์คือนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

7.จงบอกถึงขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง
ตอบ 1.การประดิษฐ์คิดค้น
2.ขั้นการพัฒนาการ
3.ขั้นการนำไปใช้หรือปฏิบัติจริง

8.จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 1.ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น
2.ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น
3.มีบทบทาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน
4.ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียน
5.ทำให้ผู้เรียนไม่เน้นความรู้อย่างเดียว

9.จงยกตัวอย่างวัตกรรมการศึกษาในปัจจุบันอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ 1.การสอนแบบโปรแกรม
2.ศูนย์การเรียน
3.ชุดการสอน

10.จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1.การเพิ่มจำนวนประชากร
2.การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
3.ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่

11.จงอธิบายถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 1.ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์
2.ทำให้ผ้เรียนมีคุณภาพของการสำเร็จการศึกษา
3.จัดการศึกษาให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
4.ต้องการให้ผู้เรียนทำงานสำเร็จด้วยตนเอง
5.จ้การศึกษาอย่างเป็นระบบ

12.จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยมาอย่างน้อย 3 ประการ
ตอบ 1.กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น
2.สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง
3.รู้จักทำวานร่วมกันป็นหมู่อย่างมีประสิทธิภาพ
4.รู้จักแสวงหาความรู้เอง
5.มีความรับผิดชอบทั้งต่อต้นเองและสังคม